โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) 

คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke)เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80%เกิดได้จาก ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจ เกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดสมองตีบ
2.หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้น แตกออกหรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความ ยื หยุ่น จากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้

1.อายุเมื่ออายุมากขึ้นหลอดเลือดก็จะเสื่อมโดย ผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้น  2.เพศพบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอด เลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง

 3.ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้

 1.ความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือด สมองได้มากกว่าคนปกติ 

2.เบาหวานเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง ทั่วร่างกายหากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรค หลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า

 3.ไขมันในเลือดสูง 

4.โรคหัวใจเช่นโรคลิ้นหัวใจผิดปกติหัวใจเต้นผิด จังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ไปอุดตันที่หลอดเลือดสมองก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้ เกิดอัมพาต

 5.การสูบบุหรี่ 

6.ยาคุมกำเนิดในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอ์โมนเอสโตรเจนสูง

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด computerized tomography) เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่ การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (carotid duplex scan) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดสมอง 

การรักษา

ขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองและรีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมอง

 

Visitors: 34,217